การลําเลียงนํ้าและแร่ธาตุ
การลําเลียงนํ้าและแร่ธาตุ
นํ้าจากดินเข้าสู่รากได้โดยกระบวนการออสโมซิสผ่านทางเซลล์ขนราก ส่วนแร่ธาตุในดินเข้ารากได้ โดยการแพร่ผ่านทางเซลล์ขนราก และในรากมีกลุ่มเซลล์ที่เป็นเนื้อเยื่อทําหน้าที่ลําเลียงนํ้าและแร่ธาตุ โดยเฉพาะ
เรียกว่า ไซเล็ม หรือ ท่อลําเลียงนํ้า น้ำและแร่ธาตุจะถูกส่งไปตามไซเล็มไปยังส่วนต่าง ๆ ของพืช
ในไซเลมประกอบด้วยเซลล์ต่างๆที่ช่วยในการลําเลียงนํ้าและแร่ธาตุ โดยนํ้าจะผ่านเยื่อบางๆของ ผนังเซลล์ของรากโดยกรรมวิธีต่างๆทางไซเล็มและเข้าสู่เซลล์อื่นๆของพืช
🍀โครงสร้างที่ทำหน้าที่ในการลำเลียงน้ำ
การที่น้ำและแร่ธาตุที่รากดูดซึมจากดินจะผ่านเซลล์ชั้นนอกคือ epidermis เข้าสู่เซลล์ชั้นใน คือcortex,endodermis และ xylem ของราก โดยอาศัยการลำเลียงทางด้านข้าง (Lateral transport)
น้ำและแร่ธาตุจากดินจะถูกดูดซึม โดยขนรากผ่านชั้น cortex จนถึง endodermis โดย มี 2 วิธี
🌼Apoplast คือการที่น้ำและแร่ธาตุผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์หนึ่ง โดยผ่านช่องว่างระหว่างผนังเซลล์ในชั้น cortexและผ่านเซลล์ที่ไม่มีชีวิต (ยกเว้น endodermis) คือ tracheid และ veesel
🌼Simplast คือการที่น้ำและแร่ธาตุผ่านจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่ง โดยผ่านทางไซโทพลาซึมที่เชื่อมต่อกันและทะลุไปอีกเซลล์หนึ่งโดยผ่านทางPlasmodesmata
เมื่อน้ำและแร่ธาตุเคลื่อนมาถึง เอนโดเดอร์มิสซึ่งมีแคสพาเรียนสตริป (Casparian strip) กั้นอยู่ที่ผนังเซลล์ น้ำและแร่ธาตุจะผ่านไปตามผนังเซลล์ไม่ได้ ดังนั้นน้ำและแร่ธาตุจึงต้องผ่านไปทางไซโทพลาซึม ของ
เซลล์เอนโดเดอร์มิส
🍀แรงที่ช่วยในการลำเลียงน้ำในพืช
🌼 แรงดันราก (Root Pressure) คือ แรงดันที่ทำให้น้ำเคลื่อนที่ต่อเนื่องกันจากรากเข้าสู่ไซเลมและต่อไปจนถึงปลายยอดของพืช เป็นแรงดันที่เกิดจากการออสโมซิสของน้ำในดิน
🌼แรงคาพิลลารี (Capillary Force) คือ แรงดึงที่เกิดจากการดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง (Cohesion) และแรงยึดติดของโมเลกุลน้ำกับพื้นผิวหรือผนังเซลล์ในท่อลำเลียง (Adhesion)
🌼แรงดึงจากการคายน้ำ (Transpiration Pull) ที่ทำให้น้ำถูกดูดขึ้นไปจากราก เพื่อแทนที่ส่วนของน้ำที่พืชสูญเสียไป
🌼แรงคาพิลลารี (Capillary Force) คือ แรงดึงที่เกิดจากการดึงดูดระหว่างโมเลกุลของน้ำด้วยกันเอง (Cohesion) และแรงยึดติดของโมเลกุลน้ำกับพื้นผิวหรือผนังเซลล์ในท่อลำเลียง (Adhesion)
🌼แรงดึงจากการคายน้ำ (Transpiration Pull) ที่ทำให้น้ำถูกดูดขึ้นไปจากราก เพื่อแทนที่ส่วนของน้ำที่พืชสูญเสียไป
🍀โครงสร้างและระบบการเรียงตัวของท่อส่งน้ำและอาหารในพืช
🌼ราก
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว : ไซเล็มเรียงตัวอยู่รอบพิธ (Pitch) ซึ่งเป็นเนื้อเยื่ออยู่ตรงส่วนกลางของราก ขณะที่โฟลเอ็ม
แทรกตัวอยู่ระหว่างไซเล็ม
พืชใบเลี้ยงคู่ : ไซเล็มเรียงตัวคล้ายดวงดาวหลายแฉก (2-5 แฉก) บริเวณกึ่งกลางของราก ส่วนโฟลเอ็มแทรกอยู่ระหว่างไซเล็ม
🌼ลำต้น
พืชใบเลี้ยงเดี่ยว : ไซเล็มและโฟลเอ็มอยู่รวมกันอย่างกระจัดกระจายทั่วทั้งลำต้น
พืชใบเลี้ยงคู่ : ไซเล็มและโฟลเอ็มรวมตัวอยู่ด้วยกันอย่างเป็นระเบียบรอบลำต้น โดยมีโฟลเอ็มเรียงตัวอยู่ด้านนอกและไซเล็มเรียงตัวอยู่ด้านใน มีเนื้อเยื่อแคมเบียม (Cambium) แทรกอยู่ตรงกึ่งกลางระหว่างไซเล็มและโฟลเอ็ม
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น